การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย
1. ด้านความรู้ความจำ (Knowledge)
ความรู้ความจำ หมายถึง
ความสามารถของสมองที่เก็บสะสมเรื่องราวต่าง ๆ หรือประสบการณ์ทั้งปวง ที่ตนได้รับรู้มา
1.1 ความรู้ในเนื้อเรื่อง หมายถึง การถามเกี่ยวกับเรื่องราวหรือเนื้อหาสาระตามท้องเรื่องนั้น
1.1.1 ความรู้เกี่ยวกับศัพท์และนิยาม หมายถึง การถามเกี่ยวกับคำศัพท์ นิยามคำแปล ความหมาย ชื่อ อักษรย่อ สัญลักษณ์ เครื่องหมาย รูปภาพ
1.1.2 ความรู้เกี่ยวกับกฎและความจริง หมายถึง การถามเกี่ยวกับ กฎ สูตร ความจริงตามท้องเรื่อง ขนาด ทิศทาง ปริมาณ เวลา คุณสมบัติ ระยะทาง เปรียบเทียบ สาเหตุ
1.2 ความรู้ในวิธีดำเนินการ หมายถึง การถามเกี่ยวกับขั้นตอนของกิจกรรมวิธีดำเนินเรื่องราว วิธีประพฤติปฏิบัติ
1.2.1 ความรู้เกี่ยวกับระเบียบแบบแผน หมายถึง การถามเกี่ยวกับแบบฟอร์ม ระเบียบ แบบแผน วัฒนธรรม ประเพณี การใช้คำสุภาพ คำราชาศัพท์
1.2.2 ความรู้เกี่ยวกับลำดับขั้นและแนวโน้ม หมายถึง การถามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน -หลัง ข้อคำถามแนวโน้มส่วนใหญ่ใช้คำว่า มักจะ เพราะเป็นการคาดคะเนเหตุการณ์
1.2.3 ความรู้เกี่ยวกับการจัดประเภท หมายถึง การถามให้จำแนก แจกแจง จัดประเภท หรือถามในรูปปฏิเสธ เช่น ไม่เข้าพวก ไม่เข้ากลุ่ม
1.2.4 ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ หมายถึง ข้อกำหนดที่ยึดเป็นหลักแล้วนำไปเปรียบเทียบกับสิ่งต่าง ๆ ถามเอกลักษณ์
1.2.5 ความรู้เกี่ยวกับวิธีการ หมายถึง การถามวิธีปฏิบัติ การทำกิจกรรมขั้นตอนการทำงาน เช่น ปฏิบัติอย่างไร ควรทำโดยวิธีใดจึงจะมีประสิทธิภาพ
1.3 ความรู้รวบยอดในเนื้อเรื่อง หมายถึง ความสามารถในการค้นหาหลักการหรือหัวใจของเรื่อง
1.3.1 ความรู้เกี่ยวกับหลักวิชาและการขยาย หมายถึง หัวใจของเรื่องราวที่เกิดจากหลาย ๆ ความคิดรวบยอด มารวมกัน การขยายเป็นการขยายความต่อออกไปจากสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่รู้มา หรือสรุปออกจากนอกเรื่องนั้น ๆ
1.3.2 ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและโครงสร้าง หมายถึง ถามเกี่ยวกับ คติ และหลักการ ของหลายเนื้อหาที่ไม่สัมพันธ์กัน
1.1 ความรู้ในเนื้อเรื่อง หมายถึง การถามเกี่ยวกับเรื่องราวหรือเนื้อหาสาระตามท้องเรื่องนั้น
1.1.1 ความรู้เกี่ยวกับศัพท์และนิยาม หมายถึง การถามเกี่ยวกับคำศัพท์ นิยามคำแปล ความหมาย ชื่อ อักษรย่อ สัญลักษณ์ เครื่องหมาย รูปภาพ
1.1.2 ความรู้เกี่ยวกับกฎและความจริง หมายถึง การถามเกี่ยวกับ กฎ สูตร ความจริงตามท้องเรื่อง ขนาด ทิศทาง ปริมาณ เวลา คุณสมบัติ ระยะทาง เปรียบเทียบ สาเหตุ
1.2 ความรู้ในวิธีดำเนินการ หมายถึง การถามเกี่ยวกับขั้นตอนของกิจกรรมวิธีดำเนินเรื่องราว วิธีประพฤติปฏิบัติ
1.2.1 ความรู้เกี่ยวกับระเบียบแบบแผน หมายถึง การถามเกี่ยวกับแบบฟอร์ม ระเบียบ แบบแผน วัฒนธรรม ประเพณี การใช้คำสุภาพ คำราชาศัพท์
1.2.2 ความรู้เกี่ยวกับลำดับขั้นและแนวโน้ม หมายถึง การถามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน -หลัง ข้อคำถามแนวโน้มส่วนใหญ่ใช้คำว่า มักจะ เพราะเป็นการคาดคะเนเหตุการณ์
1.2.3 ความรู้เกี่ยวกับการจัดประเภท หมายถึง การถามให้จำแนก แจกแจง จัดประเภท หรือถามในรูปปฏิเสธ เช่น ไม่เข้าพวก ไม่เข้ากลุ่ม
1.2.4 ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ หมายถึง ข้อกำหนดที่ยึดเป็นหลักแล้วนำไปเปรียบเทียบกับสิ่งต่าง ๆ ถามเอกลักษณ์
1.2.5 ความรู้เกี่ยวกับวิธีการ หมายถึง การถามวิธีปฏิบัติ การทำกิจกรรมขั้นตอนการทำงาน เช่น ปฏิบัติอย่างไร ควรทำโดยวิธีใดจึงจะมีประสิทธิภาพ
1.3 ความรู้รวบยอดในเนื้อเรื่อง หมายถึง ความสามารถในการค้นหาหลักการหรือหัวใจของเรื่อง
1.3.1 ความรู้เกี่ยวกับหลักวิชาและการขยาย หมายถึง หัวใจของเรื่องราวที่เกิดจากหลาย ๆ ความคิดรวบยอด มารวมกัน การขยายเป็นการขยายความต่อออกไปจากสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่รู้มา หรือสรุปออกจากนอกเรื่องนั้น ๆ
1.3.2 ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและโครงสร้าง หมายถึง ถามเกี่ยวกับ คติ และหลักการ ของหลายเนื้อหาที่ไม่สัมพันธ์กัน
ตัวอย่างข้อสอบ
- มุมที่กาง 90 องศา
เรียกว่ามุมอะไร (ถามศัพท์)
ก. มุกฉาก
ข. มุมตรง
ค. มุมป้าน
ง. มุมกลับ
จ. มุมแหลม
- ถ้าขาดอาหารทะเลจะทำให้เกิดโรคอะไร ? (ถามความจริง,ความสำคัญ)
ก. กระดูกอ่อน
ข. ตาอักเสบ
ค. โลหิตจาง
ง. คอพอก
จ. นิ่ว
- คนดื่มสุรามาก
ๆ มักเป็นโรคเกี่ยวกับอวัยวะใด ? (ถามแนวโน้ม)
ก. ไต
ข. หัวใจ
ค. ลำไส้
ง. กระเพาะ
จ. หลอดเลือด
2.ด้านความเข้าใจ (Comprehension) หมายถึง ความสามารถในการนำความรู้ความจำไปดัดแปลงปรับปรุง เพื่อให้สามารถจับใจความ หรือเปรียบเทียบ ย่นย่อเรื่องราว ความคิด ข้อเท็จจริงต่าง ๆ
2.1 การแปลความ หมายถึง ความสามารถแปลสิ่งซึ่งอยู่ในระดับหนึ่งไปยังอีกระดับหนึ่งได้ สุภาษิต สำนวน โวหาร
ตัวอย่างข้อสอบ
ขอบถนนที่ทาสีแดงสลับสีขาว
หมายความว่าอย่างไร ?
ก. ห้ามรถโดยสารจอด
ข. ห้ามรถบรรทุกจอด
ค. ห้ามรถทุกชนิดจอด
ง. ห้ามรถส่วนบุคคลจอด
จ. ห้ามรถสามล้อเครื่องจอด
2.2 การตีความ หมายถึง
การจับใจความสำคัญของเรื่องหรือการเอาเรื่องราวเดิมมาคิดในแง่ใหม่
ตัวอย่างข้อสอบ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นกษัตริย์ลักษณะใด ?
ก. เข้มแข็ง
ข. กล้าหาญ
ค. เคร่งครัด
ง. รักงานมาก
จ. ปกครองเก่ง
2.3 การขยายความ หมายถึง การคาดคะเนหรือคาดหวังว่า จะมีสิ่งนั้นเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นในอดีต หรืออนาคต โดยอาศัยแนวโน้มที่ทราบมาเป็นหลัก
2.3 การขยายความ หมายถึง การคาดคะเนหรือคาดหวังว่า จะมีสิ่งนั้นเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นในอดีต หรืออนาคต โดยอาศัยแนวโน้มที่ทราบมาเป็นหลัก
ตัวอย่างข้อสอบ
ตามแนวโน้มทางประวัติศาสตร์ เมืองหลวงอนาคตของไทยควรเป็นเมืองใด
ก. ชลบุรี
ข. สระบุรี
ค. ขอนแก่น
ง. พิษณุโลก
จ. นครราชสีมา
3.ด้านการนำไปใช้ (Application) หมายถึง ความสามารถในการนำความรู้ ความเข้าใจในเรื่องราวใด ๆ ไปใช้ในสถานการณ์จริงในชีวิตประจำวันหรือในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน
3.ด้านการนำไปใช้ (Application) หมายถึง ความสามารถในการนำความรู้ ความเข้าใจในเรื่องราวใด ๆ ไปใช้ในสถานการณ์จริงในชีวิตประจำวันหรือในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน
ตัวอย่างข้อสอบ
อุปกรณ์ชนิดใดที่เปลี่ยนแปลงพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า
? (ถามการนำหลักวิชาไปใช้)
ก. ตู้เย็น
ข. พัดลม
ค. มอเตอร์
ง. ไดนาโม
จ. แบตเตอรี่
4.ด้านการวิเคราะห์ (Analysis)
4.ด้านการวิเคราะห์ (Analysis)
หมายถึง
การแยกแยะพิจารณาดูรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ หรือเรื่องราวต่าง ๆ
ว่ามีชิ้นส่วนใดสำคัญที่สุด เป็นการใช้วิจารณญาณเพื่อไตร่ตรอง
4.1 การวิเคราะห์ความสำคัญ หมายถึง การพิจารณาหรือจำแนกว่า ชิ้นใด ส่วนใด เรื่องใด ตอนใด สำคัญที่สุด หรือหาจุดเด่น จุดประสงค์สำคัญ
4.1 การวิเคราะห์ความสำคัญ หมายถึง การพิจารณาหรือจำแนกว่า ชิ้นใด ส่วนใด เรื่องใด ตอนใด สำคัญที่สุด หรือหาจุดเด่น จุดประสงค์สำคัญ
ตัวอย่างข้อสอบ
เพราะเหตุใดคนจีนจึงค้าขายได้ก้าวหน้าดี
ก. เพราะมีความฉลาด
ข. เพราะมีความอดทน
ค. เพราะได้รับการฝึกมาก
ง. เพราะมีความคล่องตัว
จ. เพราะมีความเกรงใจน้อย
4.2 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ หมายถึง การค้นหาความเกี่ยวข้องระหว่างคุณลักษณะสำคัญของเรื่องราวหรือสิ่งต่าง
ๆ ว่าสองชิ้นส่วนใดสัมพันธ์กัน
ตัวอย่างข้อสอบ
สัตว์และโรคคู่ใดเกี่ยวข้องกันมากที่สุด ?
ก. หนูกับโรคหืด
ข. แมลงสาบกับโรคบิด
ค. ยุงลายกับไข้มาลาเรีย
ง. พยาธิกับโรคขาดอาหาร
จ. แมลงวันกับไข้รากสาดน้อย
4.3 การวิเคราะห์หลักการ หมายถึง
การให้พิจารณาดูชิ้นส่วน หรือส่วนปลีกย่อยต่าง ๆ ว่า ทำงานหรือเกาะยึดกันได้
หรือคงสภาพเช่นนั้นได้เพราะใช้หลักการใดเป็นแกนกลาง
ตัวอย่างข้อสอบ
ข้อใดเป็นหลักการซื้อยา ?
ก. นำตัวอย่างไปซื้อ
ข. ซื้อตามใบสั่งแพทย์
ค. ซื้อตามที่ผู้ขายแนะนำ
ง. ซื้อตามคำโฆษณาในทีวี
จ. ซื้อตามคำแนะนำของเพื่อน
5.ด้านการสังเคราะห์ (Synthesis) หมายถึง ความสามารถในการผสมผสานเรื่องราวหรือสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างเป็นเรื่องราวใหม่
5.1 การสังเคราะห์ข้อความ หมายถึง การนำเอาความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ มาผสมหรือปรุงแต่งขึ้นใหม่ เกิดเป็นข้อความหรือเรื่องราวใหม่ ๆ เช่น การเขียนเรียงความ
ตัวอย่างข้อสอบ
ข้อความใดอธิบายเรื่องการเคลื่อนที่ของความร้อนได้ชัดเจนที่สุด ?
ก.
ทางแล่นของรถไฟ
ข.
ทิศทางการพุงของลูกธนู
ค.
น้ำไหลจากที่สูงลงมาสู่ที่ต่ำ
ง.
การสะท้อนกลับของลูกปิงปอง
จ.
การหมุนเวียนของแรงดันอากาศ
5.2 การสังเคราะห์แผนงาน หมายถึง
เป็นการวัดความสามารถในการเขียนโครงการ แผนปฏิบัติงาน
ตัวอย่างข้อสอบ
จะทดสอบความซื่อสัตย์ของคนอย่างไร
จึงจะเป็นที่เชื่อถือได้ ?
ก. ให้ทำงานหนักแล้วสังเกตอาการบ่น
ข. ทิ้งสิ่งสกปรกไว้ให้ทำความสะอาดทุกครั้ง
ค. ให้เงินใบละร้อยซื้อของ 10 บาท
สังเกตดูว่าได้เงินทอนหรือไม่
ง. ทิ้งเงินจำนวนหนึ่งไว้เปิดเผย 2-3 ครั้ง
ปรากฏว่าไม่เคยหาย
จ. ทิ้งเสื้อผ้าแพง ๆ เอาไว้หลายครั้ง ปรากฏว่าไม่เคยหายเก็บเรียบร้อย
5.3 การสังเคราะห์ความสัมพันธ์ หมายถึง การเอาความสำคัญและหลักการต่าง ๆ มาผสมให้เป็นเรื่องเดียวกัน ทำให้เกิดเป็นสิ่งสำเร็จหน่วยใหม่ ที่มีความสัมพันธ์แปลกไปจากเดิม
ตัวอย่างข้อสอบ
5.3 การสังเคราะห์ความสัมพันธ์ หมายถึง การเอาความสำคัญและหลักการต่าง ๆ มาผสมให้เป็นเรื่องเดียวกัน ทำให้เกิดเป็นสิ่งสำเร็จหน่วยใหม่ ที่มีความสัมพันธ์แปลกไปจากเดิม
ตัวอย่างข้อสอบ
นางงามทุกคนเป็นคนสวย
คนสวยส่วนมากผิวขาว คนผิวขาวบางคนกลัวแดด สรุปได้ว่า อย่างไร
?
ก. คนสวยทุกคนผิวขาว
ข. นางงานทุกคนผิวขาว
ค. คนสวยมากกลัวแดด
ง. นางงามบางคนกลัวแดด
จ. ยังสรุปแน่นอนไม่ได้
6.ด้านการประเมินค่า (Evaluation)
6.ด้านการประเมินค่า (Evaluation)
หมายถึง การวินิจฉัย
หรือตีราคา เรื่องราว ความคิด เหตุการณ์ต่าง ๆ โดยสรุปเป็นคุณค่าว่า ดี-เลว
6.1 การประเมินค่าโดยอาศัยข้อเท็จจริงภายใน หมายถึง การประเมินค่าโดยใช้ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ตามท้องเรื่อง หรือตามสถานการณ์นั้น ๆ
6.1 การประเมินค่าโดยอาศัยข้อเท็จจริงภายใน หมายถึง การประเมินค่าโดยใช้ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ตามท้องเรื่อง หรือตามสถานการณ์นั้น ๆ
ตัวอย่างข้อสอบ
ในเรื่องสังข์ทอง นางรสนาเป็นคนประเภทใด
ก. ดี
เพราะซื่อสัตย์ต่อสามี
ข. ดี
เพราะเทวดาคอยช่วย
ค. ดี
เพราะอยู่ในกระท่อมได้
ง. ดี เพราะไม่คิดเบียดเบียนใคร
จ. ดี
เพราะมีเมตตาต่อคนทุกข์ยาก
6.2 การประเมินค่า โดยอาศัยเกณฑ์ภายนอก หมายถึง การประเมินค่าโดยใช้เกณฑ์จากสิ่งภายนอกเรื่องราวนั้น ๆ เป็นหลักในการพิจารณาตัดสิน
6.2 การประเมินค่า โดยอาศัยเกณฑ์ภายนอก หมายถึง การประเมินค่าโดยใช้เกณฑ์จากสิ่งภายนอกเรื่องราวนั้น ๆ เป็นหลักในการพิจารณาตัดสิน
ตัวอย่างข้อสอบ
ถ้ายึดตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
การที่พระเพื่อนพระแพงให้ปู่เจ้าสมิงพรายใช้เวทย์มนตร์เรียกพระลอมา ถือว่ามีความผิดหรือไม่
ก. ผิด เพราะ
รบกวนผู้อื่นอย่างไม่เกรงใจ
ข. ผิด เพราะ
ไม่รักศักดิ์ศรีลูกผู้หญิง
ค. ผิด เพราะ
ไม่เคารพบรรพบุรุษ
ง. ไม่ผิด เพราะ
เป็นเรื่องของความรัก
จ. ไม่ผิด เพราะ
ทำตามเสรีภาพ
ชื่อนางสาวพรนภา เวียงวิเศษ รหัส 553410080114
สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษาชั้นปีที่ 4 หมู่เรียนที่ 1
ดีคับ
ตอบลบรบกวนตั้งโจทย์ข้อสอบ การประเมินโดยอาศัยเกณฑ์ภายนอก ,การวิเคราะห์ความสัมพันธ์, การวิเคราะห์ความสำคัญ, การวิเคราะห์หลักการ, การสังเคราะห์ความสัมพันธ์, การสังเคราะห์แผนงาน, ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและโครงสร้าง, ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ ตัวเลือก 4 ข้อ ขอบคุณค่ะ
ตอบลบ