วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behavioral Teories)

             การเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธิ์กับสิ่งแวดล้อม
            กลุ่มพฤติกรรมนิยม (ฺBehavioral หรือ S-R Associationism) ได้ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า(Stimulus) กับการตอบสนอง(Response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง และถ้าหากได้รับการเสริมแรงจะทำให้มีการแสดงพฤติกรรมนั้นถี่มากขึ้น
             นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนยมที่สำคัญ และมีผลงานมากที่สุดในด้านเทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน ได้แก่ Pavlov, Watson, Thorndike และ Skinner ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมีพื้นฐานความคิด(Assumption) ที่สำคัญ ได้แก่ 1)พฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นโดยการเรียนรู้และสังเกตได้
2) พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนที่เป็นอิสระหลายอย่าง 3)การเสริมแรง(Reinforcement) ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้
           นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมได้จำแนกพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
                      1.) พฤติกรรมเรสปอนเดนส์(Response Behavior) พฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า ซึ่งสามารถวัดและสังเกตได้
                       2.) พฤติกรรมโอเปอแรนซ์(Operant Behavior) พฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา(Emitted)โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน

     ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory)

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
ของพาฟลอฟ (Pavlov)


            ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ทำการศึกษาทดลองกับสุนัข โดยฝึกสุนัขให้ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงในห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข ระหว่างการวางเงื่อนไข และหลังการวางเงื่อนไข
             ก. เสียงกระดิ่ง (CS) ไม่มีน้ำลาย ผงเนื้อ (UCS) น้ำลายไหล (UCR)
            ข. เสียงกระดิ่ง น้ำลายไหล (UCR) และผงเนื้อ (UCS) ทำขั้นที่ 2 ซ้ำกันหลาย ๆ ครั้ง
            ค. เสียงกระดิ่ง (CS) น้ำลายไหล (CR)
              การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคคือการตอบสนองที่เป็นไปโดยอัตโนมัติเมื่อนำสิ่งเร้าใหม่มาควบคู่กับสิ่งเร้าเดิม ซึ่งนักจิตวิทยาเรียกพฤติกรรมการตอบสนองนี้ว่าพฤติกรรมเรสปอนเด้นท์



ในการวิจัยเกี่ยวกับการย่อยอาหารของสุนัข พาฟลอฟสังเกตสุนัขมีน้ำลายไหลออกมาเมื่อเห็นผู้ทดลองนำอาหารมาให้ พาฟลอฟสนใจในพฤติกรรมน้ำลายไหลของสุนัขก่อนได้รับอาหารมากจึงได้คิดทำการศึกษาเรื่องนี้อย่างมีระเบียบ การทดลองสามารถแสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยการทดลองทำให้สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง พาฟลอฟได้พบหลักฐานก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น