วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย

การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย

1. ด้านความรู้ความจำ (Knowledge)
          ความรู้ความจำ หมายถึง ความสามารถของสมองที่เก็บสะสมเรื่องราวต่าง ๆ หรือประสบการณ์ทั้งปวง     ที่ตนได้รับรู้มา
          1.1 ความรู้ในเนื้อเรื่อง หมายถึง การถามเกี่ยวกับเรื่องราวหรือเนื้อหาสาระตามท้องเรื่องนั้น
              1.1.1 ความรู้เกี่ยวกับศัพท์และนิยาม หมายถึง การถามเกี่ยวกับคำศัพท์ นิยามคำแปล ความหมาย    ชื่อ อักษรย่อ สัญลักษณ์ เครื่องหมาย รูปภาพ
              1.1.2 ความรู้เกี่ยวกับกฎและความจริง หมายถึง การถามเกี่ยวกับ กฎ สูตร ความจริงตามท้องเรื่อง ขนาด ทิศทาง ปริมาณ เวลา คุณสมบัติ ระยะทาง เปรียบเทียบ สาเหตุ
         1.2 ความรู้ในวิธีดำเนินการ หมายถึง การถามเกี่ยวกับขั้นตอนของกิจกรรมวิธีดำเนินเรื่องราว วิธีประพฤติปฏิบัติ
              1.2.1 ความรู้เกี่ยวกับระเบียบแบบแผน หมายถึง การถามเกี่ยวกับแบบฟอร์ม ระเบียบ แบบแผน วัฒนธรรม ประเพณี การใช้คำสุภาพ คำราชาศัพท์
              1.2.2 ความรู้เกี่ยวกับลำดับขั้นและแนวโน้ม หมายถึง การถามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน -หลัง ข้อคำถามแนวโน้มส่วนใหญ่ใช้คำว่า มักจะ เพราะเป็นการคาดคะเนเหตุการณ์
              1.2.3 ความรู้เกี่ยวกับการจัดประเภท หมายถึง การถามให้จำแนก แจกแจง จัดประเภท หรือถามในรูปปฏิเสธ เช่น ไม่เข้าพวก ไม่เข้ากลุ่ม
              1.2.4 ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ หมายถึง ข้อกำหนดที่ยึดเป็นหลักแล้วนำไปเปรียบเทียบกับสิ่งต่าง ๆ ถามเอกลักษณ์
              1.2.5 ความรู้เกี่ยวกับวิธีการ หมายถึง การถามวิธีปฏิบัติ การทำกิจกรรมขั้นตอนการทำงาน เช่น ปฏิบัติอย่างไร ควรทำโดยวิธีใดจึงจะมีประสิทธิภาพ
        1.3 ความรู้รวบยอดในเนื้อเรื่อง หมายถึง ความสามารถในการค้นหาหลักการหรือหัวใจของเรื่อง
              1.3.1 ความรู้เกี่ยวกับหลักวิชาและการขยาย หมายถึง หัวใจของเรื่องราวที่เกิดจากหลาย ๆ ความคิดรวบยอด มารวมกัน การขยายเป็นการขยายความต่อออกไปจากสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่รู้มา
หรือสรุปออกจากนอกเรื่องนั้น ๆ
              1.3.2 ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและโครงสร้าง หมายถึง ถามเกี่ยวกับ คติ และหลักการ ของหลายเนื้อหาที่ไม่สัมพันธ์กัน
ตัวอย่างข้อสอบ
          -    มุมที่กาง  90  องศา  เรียกว่ามุมอะไร  (ถามศัพท์)
                                    ก.         มุกฉาก
                                    ข.         มุมตรง
                                    ค.         มุมป้าน
                                    ง.         มุมกลับ
                                    จ.         มุมแหลม
         -  ถ้าขาดอาหารทะเลจะทำให้เกิดโรคอะไร ?  (ถามความจริง,ความสำคัญ)
                                    ก.         กระดูกอ่อน
                                    ข.         ตาอักเสบ
                                    ค.         โลหิตจาง
                                    ง.         คอพอก
                                    จ.         นิ่ว
          - คนดื่มสุรามาก ๆ มักเป็นโรคเกี่ยวกับอวัยวะใด ? (ถามแนวโน้ม)
                                    ก.         ไต
                                    ข.         หัวใจ
                                    ค.         ลำไส้
                                    ง.         กระเพาะ
                                    จ.         หลอดเลือด


2.ด้านความเข้าใจ (Comprehension)   หมายถึง ความสามารถในการนำความรู้ความจำไปดัดแปลงปรับปรุง เพื่อให้สามารถจับใจความ หรือเปรียบเทียบ ย่นย่อเรื่องราว ความคิด ข้อเท็จจริงต่าง ๆ
          2.1 การแปลความ หมายถึง ความสามารถแปลสิ่งซึ่งอยู่ในระดับหนึ่งไปยังอีกระดับหนึ่งได้ สุภาษิต สำนวน โวหาร
          ตัวอย่างข้อสอบ ขอบถนนที่ทาสีแดงสลับสีขาว  หมายความว่าอย่างไร  ?
                   ก.  ห้ามรถโดยสารจอด
                   ข.  ห้ามรถบรรทุกจอด
                   ค.  ห้ามรถทุกชนิดจอด
                   ง.  ห้ามรถส่วนบุคคลจอด
                   จ.  ห้ามรถสามล้อเครื่องจอด
          2.2 การตีความ หมายถึง การจับใจความสำคัญของเรื่องหรือการเอาเรื่องราวเดิมมาคิดในแง่ใหม่
          ตัวอย่างข้อสอบ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นกษัตริย์ลักษณะใด ?
                   ก.  เข้มแข็ง
                   ข.  กล้าหาญ
                   ค.  เคร่งครัด
                   ง.  รักงานมาก
                   จ.  ปกครองเก่ง
          2.3 การขยายความ หมายถึง การคาดคะเนหรือคาดหวังว่า จะมีสิ่งนั้นเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นในอดีต หรืออนาคต โดยอาศัยแนวโน้มที่ทราบมาเป็นหลัก
          ตัวอย่างข้อสอบ ตามแนวโน้มทางประวัติศาสตร์  เมืองหลวงอนาคตของไทยควรเป็นเมืองใด
                   ก.  ชลบุรี
                   ข.  สระบุรี
                   ค.  ขอนแก่น
                   ง. พิษณุโลก
                   จ. นครราชสีมา

3.ด้านการนำไปใช้ (Application) หมายถึง ความสามารถในการนำความรู้ ความเข้าใจในเรื่องราวใด ๆ ไปใช้ในสถานการณ์จริงในชีวิตประจำวันหรือในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน
          ตัวอย่างข้อสอบ
          อุปกรณ์ชนิดใดที่เปลี่ยนแปลงพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า ?  (ถามการนำหลักวิชาไปใช้)
                   ก.  ตู้เย็น
                   ข.  พัดลม
                   ค.  มอเตอร์
                   ง.  ไดนาโม
                   จ.  แบตเตอรี่

4.ด้านการวิเคราะห์ (Analysis)
          หมายถึง การแยกแยะพิจารณาดูรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ หรือเรื่องราวต่าง ๆ ว่ามีชิ้นส่วนใดสำคัญที่สุด เป็นการใช้วิจารณญาณเพื่อไตร่ตรอง
          4.1 การวิเคราะห์ความสำคัญ หมายถึง การพิจารณาหรือจำแนกว่า ชิ้นใด ส่วนใด เรื่องใด ตอนใด สำคัญที่สุด หรือหาจุดเด่น จุดประสงค์สำคัญ
ตัวอย่างข้อสอบ
          เพราะเหตุใดคนจีนจึงค้าขายได้ก้าวหน้าดี
              ก. เพราะมีความฉลาด
              ข. เพราะมีความอดทน
              ค. เพราะได้รับการฝึกมาก
              ง.  เพราะมีความคล่องตัว
              จ.  เพราะมีความเกรงใจน้อย
          4.2 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ หมายถึง การค้นหาความเกี่ยวข้องระหว่างคุณลักษณะสำคัญของเรื่องราวหรือสิ่งต่าง ๆ ว่าสองชิ้นส่วนใดสัมพันธ์กัน
ตัวอย่างข้อสอบ
          สัตว์และโรคคู่ใดเกี่ยวข้องกันมากที่สุด  ?
              ก. หนูกับโรคหืด
              ข. แมลงสาบกับโรคบิด
              ค. ยุงลายกับไข้มาลาเรีย
               ง.  พยาธิกับโรคขาดอาหาร
              จ.  แมลงวันกับไข้รากสาดน้อย
          4.3 การวิเคราะห์หลักการ หมายถึง การให้พิจารณาดูชิ้นส่วน หรือส่วนปลีกย่อยต่าง ๆ ว่า ทำงานหรือเกาะยึดกันได้ หรือคงสภาพเช่นนั้นได้เพราะใช้หลักการใดเป็นแกนกลาง
ตัวอย่างข้อสอบ
          ข้อใดเป็นหลักการซื้อยา  ?
              ก. นำตัวอย่างไปซื้อ
               ข. ซื้อตามใบสั่งแพทย์
               ค. ซื้อตามที่ผู้ขายแนะนำ
               ง.  ซื้อตามคำโฆษณาในทีวี
          จ.  ซื้อตามคำแนะนำของเพื่อน


5.ด้านการสังเคราะห์ (Synthesis) หมายถึง ความสามารถในการผสมผสานเรื่องราวหรือสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างเป็นเรื่องราวใหม่
          5.1 การสังเคราะห์ข้อความ หมายถึง การนำเอาความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ มาผสมหรือปรุงแต่งขึ้นใหม่ เกิดเป็นข้อความหรือเรื่องราวใหม่ ๆ เช่น การเขียนเรียงความ
ตัวอย่างข้อสอบ
ข้อความใดอธิบายเรื่องการเคลื่อนที่ของความร้อนได้ชัดเจนที่สุด  ?
ก.     ทางแล่นของรถไฟ
ข.     ทิศทางการพุงของลูกธนู
ค.     น้ำไหลจากที่สูงลงมาสู่ที่ต่ำ
ง.      การสะท้อนกลับของลูกปิงปอง
จ.      การหมุนเวียนของแรงดันอากาศ
          5.2 การสังเคราะห์แผนงาน หมายถึง เป็นการวัดความสามารถในการเขียนโครงการ แผนปฏิบัติงาน
  ตัวอย่างข้อสอบ
       จะทดสอบความซื่อสัตย์ของคนอย่างไร  จึงจะเป็นที่เชื่อถือได้  ?
          ก. ให้ทำงานหนักแล้วสังเกตอาการบ่น
          ข. ทิ้งสิ่งสกปรกไว้ให้ทำความสะอาดทุกครั้ง
          ค. ให้เงินใบละร้อยซื้อของ  10  บาท  สังเกตดูว่าได้เงินทอนหรือไม่
          ง.  ทิ้งเงินจำนวนหนึ่งไว้เปิดเผย  2-3  ครั้ง  ปรากฏว่าไม่เคยหาย
          จ.  ทิ้งเสื้อผ้าแพง ๆ เอาไว้หลายครั้ง  ปรากฏว่าไม่เคยหายเก็บเรียบร้อย
          5.3 การสังเคราะห์ความสัมพันธ์ หมายถึง การเอาความสำคัญและหลักการต่าง ๆ มาผสมให้เป็นเรื่องเดียวกัน ทำให้เกิดเป็นสิ่งสำเร็จหน่วยใหม่ ที่มีความสัมพันธ์แปลกไปจากเดิม
         ตัวอย่างข้อสอบ
       นางงามทุกคนเป็นคนสวย คนสวยส่วนมากผิวขาว คนผิวขาวบางคนกลัวแดด สรุปได้ว่า  อย่างไร  ?
          ก. คนสวยทุกคนผิวขาว
          ข. นางงานทุกคนผิวขาว
          ค. คนสวยมากกลัวแดด
          ง.  นางงามบางคนกลัวแดด
          จ.  ยังสรุปแน่นอนไม่ได้
6.ด้านการประเมินค่า (Evaluation)
          หมายถึง การวินิจฉัย หรือตีราคา เรื่องราว ความคิด เหตุการณ์ต่าง ๆ โดยสรุปเป็นคุณค่าว่า ดี-เลว
          6.1 การประเมินค่าโดยอาศัยข้อเท็จจริงภายใน หมายถึง การประเมินค่าโดยใช้ข้อเท็จจริงต่าง ๆ         ตามท้องเรื่อง หรือตามสถานการณ์นั้น ๆ
ตัวอย่างข้อสอบ
              ในเรื่องสังข์ทอง  นางรสนาเป็นคนประเภทใด
                   ก.  ดี  เพราะซื่อสัตย์ต่อสามี
                   ข.  ดี  เพราะเทวดาคอยช่วย
              ค. ดี  เพราะอยู่ในกระท่อมได้
              ง.  ดี  เพราะไม่คิดเบียดเบียนใคร
              จ.  ดี  เพราะมีเมตตาต่อคนทุกข์ยาก
          6.2 การประเมินค่า โดยอาศัยเกณฑ์ภายนอก หมายถึง การประเมินค่าโดยใช้เกณฑ์จากสิ่งภายนอกเรื่องราวนั้น ๆ เป็นหลักในการพิจารณาตัดสิน
ตัวอย่างข้อสอบ
          ถ้ายึดตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย   การที่พระเพื่อนพระแพงให้ปู่เจ้าสมิงพรายใช้เวทย์มนตร์เรียกพระลอมา  ถือว่ามีความผิดหรือไม่
              ก. ผิด  เพราะ  รบกวนผู้อื่นอย่างไม่เกรงใจ
              ข. ผิด  เพราะ  ไม่รักศักดิ์ศรีลูกผู้หญิง
              ค. ผิด  เพราะ  ไม่เคารพบรรพบุรุษ
              ง.  ไม่ผิด  เพราะ  เป็นเรื่องของความรัก
              จ.  ไม่ผิด  เพราะ  ทำตามเสรีภาพ



 ชื่อนางสาวพรนภา เวียงวิเศษ  รหัส 553410080114
สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษาชั้นปีที่ 4 หมู่เรียนที่ 1







วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behavioral Teories)

             การเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธิ์กับสิ่งแวดล้อม
            กลุ่มพฤติกรรมนิยม (ฺBehavioral หรือ S-R Associationism) ได้ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า(Stimulus) กับการตอบสนอง(Response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง และถ้าหากได้รับการเสริมแรงจะทำให้มีการแสดงพฤติกรรมนั้นถี่มากขึ้น
             นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนยมที่สำคัญ และมีผลงานมากที่สุดในด้านเทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน ได้แก่ Pavlov, Watson, Thorndike และ Skinner ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมีพื้นฐานความคิด(Assumption) ที่สำคัญ ได้แก่ 1)พฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นโดยการเรียนรู้และสังเกตได้
2) พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนที่เป็นอิสระหลายอย่าง 3)การเสริมแรง(Reinforcement) ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้
           นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมได้จำแนกพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
                      1.) พฤติกรรมเรสปอนเดนส์(Response Behavior) พฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า ซึ่งสามารถวัดและสังเกตได้
                       2.) พฤติกรรมโอเปอแรนซ์(Operant Behavior) พฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา(Emitted)โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน

     ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory)

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
ของพาฟลอฟ (Pavlov)


            ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ทำการศึกษาทดลองกับสุนัข โดยฝึกสุนัขให้ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงในห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข ระหว่างการวางเงื่อนไข และหลังการวางเงื่อนไข
             ก. เสียงกระดิ่ง (CS) ไม่มีน้ำลาย ผงเนื้อ (UCS) น้ำลายไหล (UCR)
            ข. เสียงกระดิ่ง น้ำลายไหล (UCR) และผงเนื้อ (UCS) ทำขั้นที่ 2 ซ้ำกันหลาย ๆ ครั้ง
            ค. เสียงกระดิ่ง (CS) น้ำลายไหล (CR)
              การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคคือการตอบสนองที่เป็นไปโดยอัตโนมัติเมื่อนำสิ่งเร้าใหม่มาควบคู่กับสิ่งเร้าเดิม ซึ่งนักจิตวิทยาเรียกพฤติกรรมการตอบสนองนี้ว่าพฤติกรรมเรสปอนเด้นท์



ในการวิจัยเกี่ยวกับการย่อยอาหารของสุนัข พาฟลอฟสังเกตสุนัขมีน้ำลายไหลออกมาเมื่อเห็นผู้ทดลองนำอาหารมาให้ พาฟลอฟสนใจในพฤติกรรมน้ำลายไหลของสุนัขก่อนได้รับอาหารมากจึงได้คิดทำการศึกษาเรื่องนี้อย่างมีระเบียบ การทดลองสามารถแสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยการทดลองทำให้สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง พาฟลอฟได้พบหลักฐานก

บทที่ 4 ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญา (Cognitive Theories)

   1. สรุปเนื้อเรื่อง Inside Out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง    


              ในเรื่อง inside out นี้ตัวเอกของเรื่องคือไรลีย์เด็กสาว ผู้มองโลกในแง่บวกอยู่เสมอ แถมเป็นนักกีฬาฮอกกี้ตัวเก่งของโรงเรียน และในหัวของไรลีย์นั้น ประกอบด้วยตัวเอกเล็กๆอีก 5 ตัวคือ Joy, Sadness , Anger, Disgust และ Fear ซึ่ง แต่อารมณ์ทั้ง 5 จะเป็นแต่ละอารมณ์แต่ละความรู้สึกดังนี้ Joy คือความรู้สึกที่มีความสุข สนุกสนาน ลั้นลา, Sadness คือความรู้สึกที่ซึมเศร้า เศร้าหมอง, Fear คือความรู้สึกกลัว กังวล, Anger คือความรู้สึกโกรธ, และ Disgust คือความรู้สึกขยะแขยง รังเกียจ แม้ว่าจะมีอารมณ์ถึง 5 อารมณ์ แต่คนที่คอยควบคุมความรู้สึกและการกระทำส่วนมากของ ไรลีย์ ก็คือ Joy คอยทำให้ไรลีย์เป็นเด็กที่สดใส มองโลกในแง่ดีอยู่เสมอ ในทุกการกระทำของไรลีย์ จะถูกเก็บเป็นลูกบอล ความทรงจำความทรงจำเหล่านี้เมื่อหมดวันจะถูกเก็บไปยังส่วนของ ความทรงจำระยะยาวและในบางครั้งเมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญๆ ในชีวิตลูกบอลที่เกิดขึ้นจะเรียกว่า ความทรงจำหลักและความทรงจำเหล่า นี้เอง ที่จะถูกพัฒนาให้กลายเป็นบุคคลิกภาพประจำตัวต่อไป ซึ่งในเรื่องนี้ความทรงจำเหล่านี้จะถูกนำไปสร้างเป็นเกาะ เพื่อแทนบุคคลิกภาพในแต่ละแง่มุม เช่นเกาะฮอคกี้เมื่อ ไรลีย์ ทำประตูแรกได้เมื่อตอนเป็นเด็ก ทำให้เธอชอบเล่นฮอกกี้ตั้งแต่นั้นมา หรือเกาะแห่งมิตรภาพที่แทนถึงเพื่อนรักของเธอที่สนิทกันมาตั้งแต่เด็ก ชีวิตของไรลีย์มีแต่ความสุขเป็นส่วนมาก แม้กระทั้ง Joy เองก็ไม่คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับไรลีย์ได้ จนกระทั้งไรลีย์ต้องย้ายบ้าน ทุกอย่างก็เปลี่ยนกันไปหมด พฤติกรรมบางอย่างของไรลีย์เปลี่ยนไป ทั้งนี้ก็เกิดกับการควบคุมของอารมณ์ทั้ง 5 เกิดเรื่องราวต่างๆขึ้นมากมาย ความทรงจำบางอย่างของไรลีย์ก็ถูกลืมไป เกาะก็พังลงเกือบทุกเกาะ ในขณะที่ Joy กำลังหาวิธีกลับมาควบคุมไรลีย์ จากนั้นเกาะต่างๆ พังลงความทรงจำบางอย่างหายไปซึ่งส่งผลถึงพฤติกรรมต่างๆของไรลีย์ในขณะนั้น เมื่อ Joy กลับมาถึงก็ให้ Sadness นำความทรงจำหลักกลับเข้าไปทำให้ทุกอย่างเริ่มเหมือนเดิมและเกาะต่างๆก็ถูกสร้างขึ้นใหม่อีกครั้ง เช่น เกาะครอบครัว มิตรภาพ เป็นต้น จากนั้นก็ทำให้ไรลีย์กลับมามีความสุขและมีความทรงจำดีๆเหมือนเดิม


2. สิ่งที่ได้จากการรับชม Inside Out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง
         จากที่ได้ดู Inside Out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง จนจบเรื่องสิ่งที่ได้คือหนังเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าคนเราเมื่อเติบโตขึ้นก็ต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ นานา  เราไม่อาจใช้ Joy เพียงอย่างเดียวเป็นตัวหลักในการรับมือกับทุกอย่างได้เหมือนตอนเด็กๆ เพราะถึง Joy จะเป็นสิ่งที่ดี แต่นั่นคือการพยายามหนีปัญหาในรูปแบบหนึ่ง และปัญหาหลายอย่างในวัยผู้ใหญ่ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยอย่างการกินบร็อคโคลีหรือการถูกสั่งงดขนมหวาน ซึ่งแค่มุกเครื่องบินธรรมดาก็มาเติมเต็มความต้องการให้ Joy เข้ามาควบคุมผลลัพธ์ได้  แต่มันมีปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวพันทั้งกับความโกรธ  ความกลัว ความรังเกียจ และความเศร้า การเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ปกติสมบูรณ์นั้นหมายถึงการระลึกได้ว่าตัวเองกำลังมีอารมณ์แบบไหน  และควรจัดการให้ทุกอารมณ์มีที่ทางในการแสดงออกมาโดยสอดประสานกัน ไม่ให้อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งมีอำนาจควบคุมการสั่งการโดยเบ็ดเสร็จ ทุกอารมณ์มีความสำคัญและหน้าที่ในตัวของมันเอง แม้แต่ความเศร้าซึ่งบางคนมองว่าเป็นสิ่งไร้ประโยชน์ ถึงความเศร้าจะไม่มีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนร่างกายทำเรื่องสนุกๆอย่าง Joy แต่ความเศร้าที่เป็นประโยชน์จะเป็นเบาะรองรับและสิ่งปลอบประโลมใจในวันที่ฟ้าฝนไม่เป็นใจกับเรา  การที่เราโศกเศร้าไม่ใช่เป็นเพราะเราอ่อนแอขี้แพ้  แต่มันเป็นการหยุดเครื่องชั่วคราวเพื่อให้เราได้มีเวลาคิดทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นมากกว่า น้ำตา/การนิ่งเงียบเป็นสิ่งที่เราใช้ในการระบายความเศร้าบางส่วนที่กดดันอยู่ในจิตใจออกจากร่างกายเหมือนที่อีก 4 อารมณ์ที่เหลือต่างก็มีวิธีการแสดงออกมา  และสิ่งที่เหลืออยู่จะเป็นประสบการณ์ที่ให้เราใช้เตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาในอนาคตได้สุดท้ายแล้ว ไรลีย์ก็ได้เรียนรู้ว่าทุกอารมณ์ล้วนมีความสำคัญในตัวมันเอง และการเรียนรู้ที่จะจัดการให้แต่ละอารมณ์มีที่ทางในการแสดงออกและดำเนินไปอย่างสอดประสานกันโดยที่ไม่จำเป็นต้องมองทุกอย่างผ่านสายตาของ Joy นั้น ก็คือการเติบโตนั้นเอง



3. Inside Out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวงทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

            1. ทฤษฎีของเพียเจต์ จากที่ได้ดูหนังมาสิ่งที่สอดคล้องกับทฤษฎีของเพียเจต์คือ พัฒนาการของไรลีย์ ตั้งแต่เล็กจนโต สังเกตได้จากพัฒนาการด้านเชาว์ปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และจิตใจของแต่ละวัยในแต่ละช่วงอายุที่แตกต่างกันออกไป และการจัดการอารมณ์ยังไม่มั่นคงในช่วงวัยเด็ก การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในแต่ละวัยก็แตกต่างกันไปด้วย ทำให้ได้รับรู้ถึงวิวัฒนาการด้านต่างๆทั้งนี้ยังทำให้รู้ว่าในแต่ละช่วงของการเจริญเติบโตและยิ่งโตขึ้น อารมณ์ ความรู้สึก จิตใจ ความคิด ก็ยิ่งซับซ้อน ยากต่อการเข้าใจมากขึ้น
              2. ทฤษฎีของออซูเบล ในทฤษฎีของออซูเบล คือเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย อาทิ เช่นในหนังเรื่องนี้เมื่อในตอนที่ไรลีย์ยังเด็กก็จะเล่นกับปิ้งป๋องพอเวลาผ่านไปเมื่อสิ่งนั่นไม่มีความหมาย ความทรงจำนี้ไม่มีความหมาย ก็จะถูกโยนทิ้งลงไปในถังขยะความทรงจำ และความทรงจำของไรลีย์ที่เคยมีปิ้งป๋องก็จะถูกลืมไป พอโตขึ้นไรลีย์ก็เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้นถ้าสิ่งที่ไรลีย์เรียนรู้มีความสำคัญ เชื่อมโยงกับการเรียนรู้ของไรลีย์ ไรลีย์ก็จะเก็บความทรงจำนั้นได้ดี เช่น การเป็นนักกีฬาฮอกกี้
               3. ทฤษฎีของคลอสไมเออร์ ในทฤษฎีนี้ ความทรงจำของไรลีย์จะถูกเก็บไว้ในลูกแก้วแต่ละสีิ ความทรงจำแต่ละอย่างจะถูกเก็บในลูกแก้วแต่ละสีตามอารมณ์นั้นๆ ลูกแก้วจะถูกเก็บในแต่ละวันๆ จนเรียงคดเคี้ยวเป็นเหมือนรอยหยักในสมองของคนเรา และนอกจากมีลูกแก้วเก็บความทรงจำแล้วยังมีเกาะต่างๆ อาทิเช่น เกาะครอบครัว เกาะมิตรภาพ เกาะที่ถูกสร้างขึ้นมา เมื่อ ความทรงจำบางอย่างเลื่อนหายไปกับกาลเวลาหรือมีเรื่องเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ย่ำแย่ เกิดเรื่องที่กระทบต่อจิตใจของไรลีย์ในเรื่องนั้น เกาะต่างๆ ก็จะพังลง เมื่อเวลาผ่านไปความทรงทรงบางอย่างก็อาจถูกลืมไปในที่สุด ซึ่งก็สอดคลองกับทฤษฎีนี้
                 4. ความรู้เกี่ยวกับการรู้คิดของตนเอง  ไรลีย์ มีประสบการณ์ในการเล่นกีฬา ฮอกกี้ ตั้งแต่เด็ก โดยเรียนรู้จากพ่อแม่ตั้งแต่เด็กครอบครัวของไรลีย์จะพาไรลีย์ไปเล่นอยู่บ่อยๆ และเมื่อเกิดการฝึกฝนมากขึ้นก็ทำให้ไรลีย์มีประสบการณ์ในกีฬาฮอกกี้มากเป็นพิเศษ ซึ่งถือเป็นความสามารถพิเศษของไรลีย์ จึงทำให้ไรลีย์ ชอบเล่นฮอกกี้มาเรื่อยๆ

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุปบทที่ 3 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behavioral Teories)
             การเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธิ์กับสิ่งแวดล้อม
            กลุ่มพฤติกรรมนิยม (ฺBehavioral หรือ S-R Associationism) ได้ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า(Stimulus) กับการตอบสนอง(Response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง และถ้าหากได้รับการเสริมแรงจะทำให้มีการแสดงพฤติกรรมนั้นถี่มากขึ้น
             นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมได้จำแนกพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
                    1.) พฤติกรรมเรสปอนเดนส์(Response Behavior) พฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า ซึ่งสามารถวัดและสังเกตได้
                    2.) พฤติกรรมโอเปอแรนซ์(Operant Behavior) พฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา(Emitted)โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning)
            -
แนวคิดของพาฟลอฟ(Pavlov)
                       พาฟลอฟ ซึ่งเป็นนักสรีระวิทยาชาวรัสเซีย เขาได้ทำการศึกษาทดลองกับสุนัขให้ ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงใน ห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข (Before Conditioning) ระหว่างการวางเงื่อนไข (During Conditioning) และ หลังการวางเงื่อนไข (After Conditioning) อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค คือ การตอบสนอง ที่เป็นโดยอัตโนมัติเมื่อนำ สิ่งเร้าใหม่มาควบคุมกับสิ่งเร้าเดิม เรียกว่า พฤติกรรมเรสปอนเด้นท์ (Respondent Behavior) พฤติกรรมการเรียนรู้นี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับมนุษย์และสัตว์ คำที่พาฟลอฟใช้อธิบายการทดลองของเขานั้น ประกอบด้วยคำสำคัญ ดังนี้

            - สิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus) คือ สิ่งเร้าที่ไม่ก่อให้เกิดการตอบสนอง 
            - สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus หรือ US ) คือ สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้ตาม
ธรรมชาติ 
             - สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus หรือ CS) คือ สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้หลังจากถูกวางเงื่อนไขแล้ว
หลังจากถูกวางเงื่อนไขแล้ว

                            ก.เมื่อเห็นอาหารสุนัขน้ำลายไหล
                            ข.เมื่อสั่นกระดิ่งและให้อาหาร สุนัขน้ำลายไหล
                            ง.เมื่อสั้นกระดิ่งสุนัขน้ำลายไหล

แนวคิดของวัตสัน(Watson)

              พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมทำให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าธรรมชาติ และการเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ เมื่อสามารถทำให้พฤติกรรมใดๆนั้นเกิดขึ้นได้ก็สามรถลดพฤติกรรมนั้นให้หายได้
              วัตสันได้ให้ข้อสังเกตว่าโดยธรรมชาติของเด็กเล็กๆ จะกลัวเสียงที่ดังขึ้นอย่างกะทันหัน แต่มักจะไม่กล้วสัตว์เลี้ยงประเภทหนูหรือกระต่าย ในการดำเนินการทดลองโดยปล่อยให้อัลเบิร์ตอยู่กับหนูขาว ขณะที่อัลเบิร์ตเอื้อมมือไปจะจับหนูขาวก็ใช้ฆ้อนเคาะแผ่นเหล็กให้เสียงดังขึ้น ทำให้เสียงดังกล่าวเป็นสิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข(UCS) ทำเกิดให้เกิดการตอบสนองที่ไม่ต้องการวางเงื่อนไข (UCR)คือความกลัว ต่อมาวัตสันได้แก้ความกลัวของหนูอัลเบิร์ต โดยให้แม่ของหนูน้อยอุ้มในขณะที่นักจิตวิทยามาให้อัลเบิร์ตจับตอนแรกจะร้องไห้แต่พอแม่ปลอบว่าไม่น่ากลัว พร้อมกับเอามืออัลเบิร์ตไปจับหนูขาวแล้วลูบตัวจนกระทั่งหนูน้อยหายกลัวหนูขาว



ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ (Operant Conditioning Theory)
            แนวคิดของธอร์นไดค์(Thorndike)
             ธอร์นไดค์ (Edward L Thorndike) เป็นนักจิตวิทยาและนักการศึกษาชาวอเมริกัน เป็นเจ้าของทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (S) กับการตอบสนอง (R) เขาเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ต้องสร้างสิ่งเชื่อมโยงหรือพันธ ์(Bond) ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง จึงเรียกทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีพันธะระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง (Connectionism Theory) หรือ ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง
             ในการทดลอง ธอร์นไดค์ได้นำแมวไปขังไว้ในกรงที่สร้างขึ้น แล้วนำปลาไปวางล่อไวนอกกรงให้ห่างพอประมาณ โดยให้แมวไม่สามารถยื่นเท้าไปเขี่ยได้ จากการสังเกต พบว่าแมวพยายามใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อจะออกไปจากกรง จนกระทั่งเท้าของมันไปเหยียบถูกคานไม้โดยบังเอิญ ทำให้ประตูเปิดออก หลังจากนั้นแมวก็ใช้เวลาในการเปิดกรงได้เร็วขึ้น

                     

               จากการทดลองธอร์นไดค์อธิบายว่า การตอบสนองซึ่งแมวแสดงออกมาเพื่อแก้ปัญหา เป็นการตอบสนองแบบลองผิดลองถูก การที่แมวสามารถเปิดกรงได้เร็วขึ้น ในช่วงหลังแสดงว่า แมวเกิดการเรียนรู้ด้วยการสร้างพันธะหรือตัวเชื่อมขึ้นระหว่างคานไม้กับการกดคานไม้
              กฎการเรียนรู้ จากการทดลองสรุปเป็นกฎการเรียนรู้ได้ดังนี้
1.       กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
2.       กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
3.       กฎแห่งความพอใจ(Law of Effect)

แนวคิดของสกินเนอร์(Skinner)
                  การกระทำใดๆถ้าได้รับการเสริมแรง จะมีแนวโน้มที่ทำให้เกิดการกระทำนั้นอีก ส่วนการกระทำใดที่มีการเสริมแรง จะมีแนวโน้มที่ทำให้เกิดการกระทำนั้นอีก ส่วนการกระทำใดที่ไม่มีการเสริมแรงย่อมมีแนวโน้มที่จะทำให้ความถี่ของการกระทำนั้น ค่อยๆหายไปและหายไปในที่สุด
                  สกินเนอร์ได้ทดลองนำหนูหิวเข้าไปอยู่ในกล่องทดลองซึ่งภายในจะมีคานที่หนูกดแล้วจะมีอาหารให้กินพร้อมกับเงื่อนไขที่มีดังแกรก ผลการทดลองปรากฎว่า เมื่อหนูวิ่งไปวิ่งมาแล้วบังเอิญไปกดถูกคานเข้าจะมีเสียงดังแกรกและหลังจากนั้นจะมีอาหารหล่นลงมา หนูจะรีบหยิบกินทันที จากนั้นหนูก็จะวิ่งเฝ้ามากดคานเพื่อจะคอยรับอาหาร แต่ถ้ากดคานแล้วไม่มีอาหารหล่นมาลงมาหนูจะกดแค่ 2-3 ครั้งเท่านั้น แล้วก็จะเลิกกดไปทันที
  


วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558

คำถามท้ายบทที่1

คำถามท้ายบทที่1 

1. MOOCs (Massive Open Online Courses) ถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาประเภทใด และเพราะอะไร

ตอบ  = MOOCs (Massive Open Online Courses)  ถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาประเภท การเรียนการสอน  เพราะปัจจุบันสามารถเข้าถึงหลักสูตรการเรียนรู้ต่างๆ ทางออนไลน์และอุปกรณ์โมบายต่างๆ ได้โดยสะดวก  เทคโนโลยีไอซีทีก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้งก็ทำให้เทคโนโลยีด้าน E-learning มีการพัฒนารูปแบบและช่องทางใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว  และเทคโนโลยีด้านการศึกษาที่กำลังถูกกล่าวขวัญถึงในปัจจุบันกันอย่างมากก็คือ “MOOC”

2. ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาแบ่งออกได้กี่ประเภทและแต่ละประเภทมีข้อดีอย่างไร

ตอบ  = มี 5 ประเภท
  2.1 นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
  ข้อดี คือ เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น
  2.2 นวัตกรรมการเรียนการสอน
  ข้อดี คือ เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถ ตอบสนองการเรียนรายบุคคล
   2.3 นวัตกรรมสื่อการสอน
  ข้อดี คือ เทคโนโลยีด้านสื่อมัลติมิเดียช่วยให้การออกแบบบทเรียนตอบสนองต่อแนวคิด และทฤษฎีการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น ร่วมทั้งส่งผลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
   2.4 นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล
  ข้อดี คือ เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำได้อย่างรวดเร็ว
  2.5 นวัตกรรมการบริหารจัดการ
  ข้อดี คือ เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก



3. สมมติว่านักศึกษาไปเป็นครูประจำการ นักศึกษาจะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใดเข้ามาช่วยในการจัดการในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (lndividual Different) ของผู้เรียนที่นักศึกษาได้ไปสอนและเพราะเหตุใดจึงเลือกนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษานั้น
ตอบ  = นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้จัดการในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน คือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) หรือ ซีเอไอ (CAI)

เพราะ จะเห็นว่าสื่อการเรียนการสอน นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ได้หรือผู้เรียนเป็นสำคัญ สื่อการเรียนการสอนประเภท “คอมพิวเตอร์ช่วยสอน” นับว่าเป็นสื่อประเภทหนึ่งที่ให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและช่วยในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล  ทั้งนี้ เนื่องจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีคุณสมบัติในการนำเสนอแบบหลายสื่อ (Multimedia) ด้วยคอมพิวเตอร์ และการเรียนที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือเป็นเพิ่มความน่าสนใจให้แก่ผู้เรียน  ซึ่งประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีดังนี้
1. ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนอ่อน สามารถใช้เวลานอกเวลาเรียนในการฝึกฝนทักษะ และเพิ่มเติมความรู้ เพื่อปรับปรุงการเรียนของตน
2. ผู้เรียนสามารถนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้ในการเรียนด้วยตนเองในเวลา และสถานที่ที่สะดวก
3. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถที่จะจูงใจผู้เรียนให้เกิดความกระตือรือร้น สนุกสนานไปกับการเรียน

4. ทำไมนักศึกษาวิชาชีพครู จึงต้องเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

ตอบ  =  เพราะปัจจุบัน เทคโนโลยีช่วยยกระดับการสอนของครู  ซึ่งเป็นการเร้าความสนใจของนักเรียน  การใช้เทคโนโลยีจึงต้องควบคู่ไปกับการสอนของครูตลอดเวลาและการใช้เทคโนโลยียังมีความสำคัญในการจัดระบบการศึกษา  ซึ่งตอบสนองผู้เรียนได้เป็นจำนวนมาก  เช่น  งานบริหารการศึกษา  งานพัฒนาการศึกษา  นอกจากนั้นเทคโนโลยียังมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาการสอน  ให้มีความสะดวกต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น  ดังนั้น  นักศึกษาวิชาชีพครู  จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้และสนใจในเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา


5.นักศึกษายกตัวอย่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบันพร้อมอธิบายข้อดีและข้อจำกัด  ของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษานั้นๆ มา 1 ประเภท

ตอบ = นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือ นวัตกรรมสื่อการสอน  ซึ่งนวัตกรรมสื่อการสอน

     ข้อดี
            1.  เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกให้ครูสอนเนื้อหาให้นักเรียนเข้าใจง่ายขึ้น
            2.  เป็นเครื่องช่วยร่นเวลาการสอนให้สั้นลง
            3.  ช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาในบทเรียนง่ายขึ้น  กระตุ้น และเร้าความสนใจ ไม่เบื่อในการเรียน  รวมทั้งให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน

     ข้อจำกัด
            1. ต้องอาศัยพลังงานในการอ่านตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่
            2. เสียสุขภาพสายตาจากการได้รับแสงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์




นางสาวพรนภา เวียงวิเศษ รหัส 553410080114 
สาขาวิชา คอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์