1. สรุปเนื้อเรื่อง Inside Out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง
ในเรื่อง inside out นี้ตัวเอกของเรื่องคือไรลีย์เด็กสาว ผู้มองโลกในแง่บวกอยู่เสมอ
แถมเป็นนักกีฬาฮอกกี้ตัวเก่งของโรงเรียน และในหัวของไรลีย์นั้น
ประกอบด้วยตัวเอกเล็กๆอีก 5 ตัวคือ Joy, Sadness , Anger, Disgust และ Fear ซึ่ง แต่อารมณ์ทั้ง 5 จะเป็นแต่ละอารมณ์แต่ละความรู้สึกดังนี้ Joy คือความรู้สึกที่มีความสุข
สนุกสนาน ลั้นลา, Sadness คือความรู้สึกที่ซึมเศร้า เศร้าหมอง, Fear คือความรู้สึกกลัว กังวล, Anger คือความรู้สึกโกรธ, และ Disgust คือความรู้สึกขยะแขยง รังเกียจ แม้ว่าจะมีอารมณ์ถึง 5 อารมณ์ แต่คนที่คอยควบคุมความรู้สึกและการกระทำส่วนมากของ
ไรลีย์ ก็คือ Joy คอยทำให้ไรลีย์เป็นเด็กที่สดใส มองโลกในแง่ดีอยู่เสมอ
ในทุกการกระทำของไรลีย์ จะถูกเก็บเป็นลูกบอล “ความทรงจำ”
ความทรงจำเหล่านี้เมื่อหมดวันจะถูกเก็บไปยังส่วนของ “ความทรงจำระยะยาว” และในบางครั้งเมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญๆ
ในชีวิตลูกบอลที่เกิดขึ้นจะเรียกว่า “ความทรงจำหลัก” และความทรงจำเหล่า นี้เอง
ที่จะถูกพัฒนาให้กลายเป็นบุคคลิกภาพประจำตัวต่อไป
ซึ่งในเรื่องนี้ความทรงจำเหล่านี้จะถูกนำไปสร้างเป็นเกาะ
เพื่อแทนบุคคลิกภาพในแต่ละแง่มุม เช่นเกาะฮอคกี้เมื่อ ไรลีย์ ทำประตูแรกได้เมื่อตอนเป็นเด็ก
ทำให้เธอชอบเล่นฮอกกี้ตั้งแต่นั้นมา
หรือเกาะแห่งมิตรภาพที่แทนถึงเพื่อนรักของเธอที่สนิทกันมาตั้งแต่เด็ก
ชีวิตของไรลีย์มีแต่ความสุขเป็นส่วนมาก แม้กระทั้ง Joy เองก็ไม่คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับไรลีย์ได้
จนกระทั้งไรลีย์ต้องย้ายบ้าน ทุกอย่างก็เปลี่ยนกันไปหมด
พฤติกรรมบางอย่างของไรลีย์เปลี่ยนไป ทั้งนี้ก็เกิดกับการควบคุมของอารมณ์ทั้ง 5
เกิดเรื่องราวต่างๆขึ้นมากมาย ความทรงจำบางอย่างของไรลีย์ก็ถูกลืมไป
เกาะก็พังลงเกือบทุกเกาะ ในขณะที่ Joy กำลังหาวิธีกลับมาควบคุมไรลีย์
จากนั้นเกาะต่างๆ พังลงความทรงจำบางอย่างหายไปซึ่งส่งผลถึงพฤติกรรมต่างๆของไรลีย์ในขณะนั้น
เมื่อ Joy กลับมาถึงก็ให้ Sadness นำความทรงจำหลักกลับเข้าไปทำให้ทุกอย่างเริ่มเหมือนเดิมและเกาะต่างๆก็ถูกสร้างขึ้นใหม่อีกครั้ง
เช่น เกาะครอบครัว มิตรภาพ เป็นต้น จากนั้นก็ทำให้ไรลีย์กลับมามีความสุขและมีความทรงจำดีๆเหมือนเดิม
2. สิ่งที่ได้จากการรับชม Inside
Out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง
จากที่ได้ดู Inside Out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง
จนจบเรื่องสิ่งที่ได้คือหนังเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าคนเราเมื่อเติบโตขึ้นก็ต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ
นานา เราไม่อาจใช้ Joy เพียงอย่างเดียวเป็นตัวหลักในการรับมือกับทุกอย่างได้เหมือนตอนเด็กๆ
เพราะถึง Joy จะเป็นสิ่งที่ดี
แต่นั่นคือการพยายามหนีปัญหาในรูปแบบหนึ่ง
และปัญหาหลายอย่างในวัยผู้ใหญ่ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยอย่างการกินบร็อคโคลีหรือการถูกสั่งงดขนมหวาน
ซึ่งแค่มุกเครื่องบินธรรมดาก็มาเติมเต็มความต้องการให้ Joy เข้ามาควบคุมผลลัพธ์ได้
แต่มันมีปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวพันทั้งกับความโกรธ ความกลัว ความรังเกียจ และความเศร้า การเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ปกติสมบูรณ์นั้นหมายถึงการระลึกได้ว่าตัวเองกำลังมีอารมณ์แบบไหน
และควรจัดการให้ทุกอารมณ์มีที่ทางในการแสดงออกมาโดยสอดประสานกัน
ไม่ให้อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งมีอำนาจควบคุมการสั่งการโดยเบ็ดเสร็จ ทุกอารมณ์มีความสำคัญและหน้าที่ในตัวของมันเอง
แม้แต่ความเศร้าซึ่งบางคนมองว่าเป็นสิ่งไร้ประโยชน์
ถึงความเศร้าจะไม่มีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนร่างกายทำเรื่องสนุกๆอย่าง Joy
แต่ความเศร้าที่เป็นประโยชน์จะเป็นเบาะรองรับและสิ่งปลอบประโลมใจในวันที่ฟ้าฝนไม่เป็นใจกับเรา
การที่เราโศกเศร้าไม่ใช่เป็นเพราะเราอ่อนแอขี้แพ้ แต่มันเป็นการหยุดเครื่องชั่วคราวเพื่อให้เราได้มีเวลาคิดทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นมากกว่า
น้ำตา/การนิ่งเงียบเป็นสิ่งที่เราใช้ในการระบายความเศร้าบางส่วนที่กดดันอยู่ในจิตใจออกจากร่างกายเหมือนที่อีก
4 อารมณ์ที่เหลือต่างก็มีวิธีการแสดงออกมา
และสิ่งที่เหลืออยู่จะเป็นประสบการณ์ที่ให้เราใช้เตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาในอนาคตได้สุดท้ายแล้ว
ไรลีย์ก็ได้เรียนรู้ว่าทุกอารมณ์ล้วนมีความสำคัญในตัวมันเอง
และการเรียนรู้ที่จะจัดการให้แต่ละอารมณ์มีที่ทางในการแสดงออกและดำเนินไปอย่างสอดประสานกันโดยที่ไม่จำเป็นต้องมองทุกอย่างผ่านสายตาของ
Joy นั้น ก็คือการเติบโตนั้นเอง
3. Inside
Out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวงทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
1. ทฤษฎีของเพียเจต์ จากที่ได้ดูหนังมาสิ่งที่สอดคล้องกับทฤษฎีของเพียเจต์คือ
พัฒนาการของไรลีย์ ตั้งแต่เล็กจนโต สังเกตได้จากพัฒนาการด้านเชาว์ปัญญา ร่างกาย
อารมณ์ และจิตใจของแต่ละวัยในแต่ละช่วงอายุที่แตกต่างกันออกไป
และการจัดการอารมณ์ยังไม่มั่นคงในช่วงวัยเด็ก การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในแต่ละวัยก็แตกต่างกันไปด้วย
ทำให้ได้รับรู้ถึงวิวัฒนาการด้านต่างๆทั้งนี้ยังทำให้รู้ว่าในแต่ละช่วงของการเจริญเติบโตและยิ่งโตขึ้น
อารมณ์ ความรู้สึก จิตใจ ความคิด ก็ยิ่งซับซ้อน ยากต่อการเข้าใจมากขึ้น
2.
ทฤษฎีของออซูเบล ในทฤษฎีของออซูเบล
คือเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย อาทิ
เช่นในหนังเรื่องนี้เมื่อในตอนที่ไรลีย์ยังเด็กก็จะเล่นกับปิ้งป๋องพอเวลาผ่านไปเมื่อสิ่งนั่นไม่มีความหมาย
ความทรงจำนี้ไม่มีความหมาย ก็จะถูกโยนทิ้งลงไปในถังขยะความทรงจำ
และความทรงจำของไรลีย์ที่เคยมีปิ้งป๋องก็จะถูกลืมไป พอโตขึ้นไรลีย์ก็เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
เพิ่มขึ้นถ้าสิ่งที่ไรลีย์เรียนรู้มีความสำคัญ เชื่อมโยงกับการเรียนรู้ของไรลีย์ ไรลีย์ก็จะเก็บความทรงจำนั้นได้ดี
เช่น การเป็นนักกีฬาฮอกกี้
3. ทฤษฎีของคลอสไมเออร์ ในทฤษฎีนี้
ความทรงจำของไรลีย์จะถูกเก็บไว้ในลูกแก้วแต่ละสีิ ความทรงจำแต่ละอย่างจะถูกเก็บในลูกแก้วแต่ละสีตามอารมณ์นั้นๆ
ลูกแก้วจะถูกเก็บในแต่ละวันๆ จนเรียงคดเคี้ยวเป็นเหมือนรอยหยักในสมองของคนเรา
และนอกจากมีลูกแก้วเก็บความทรงจำแล้วยังมีเกาะต่างๆ อาทิเช่น เกาะครอบครัว
เกาะมิตรภาพ เกาะที่ถูกสร้างขึ้นมา เมื่อ ความทรงจำบางอย่างเลื่อนหายไปกับกาลเวลาหรือมีเรื่องเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ย่ำแย่
เกิดเรื่องที่กระทบต่อจิตใจของไรลีย์ในเรื่องนั้น เกาะต่างๆ ก็จะพังลง
เมื่อเวลาผ่านไปความทรงทรงบางอย่างก็อาจถูกลืมไปในที่สุด ซึ่งก็สอดคลองกับทฤษฎีนี้
4. ความรู้เกี่ยวกับการรู้คิดของตนเอง ไรลีย์ มีประสบการณ์ในการเล่นกีฬา
ฮอกกี้ ตั้งแต่เด็ก
โดยเรียนรู้จากพ่อแม่ตั้งแต่เด็กครอบครัวของไรลีย์จะพาไรลีย์ไปเล่นอยู่บ่อยๆ
และเมื่อเกิดการฝึกฝนมากขึ้นก็ทำให้ไรลีย์มีประสบการณ์ในกีฬาฮอกกี้มากเป็นพิเศษ
ซึ่งถือเป็นความสามารถพิเศษของไรลีย์ จึงทำให้ไรลีย์ ชอบเล่นฮอกกี้มาเรื่อยๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น