วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุปบทที่ 3 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behavioral Teories)
             การเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธิ์กับสิ่งแวดล้อม
            กลุ่มพฤติกรรมนิยม (ฺBehavioral หรือ S-R Associationism) ได้ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า(Stimulus) กับการตอบสนอง(Response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง และถ้าหากได้รับการเสริมแรงจะทำให้มีการแสดงพฤติกรรมนั้นถี่มากขึ้น
             นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมได้จำแนกพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
                    1.) พฤติกรรมเรสปอนเดนส์(Response Behavior) พฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า ซึ่งสามารถวัดและสังเกตได้
                    2.) พฤติกรรมโอเปอแรนซ์(Operant Behavior) พฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา(Emitted)โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning)
            -
แนวคิดของพาฟลอฟ(Pavlov)
                       พาฟลอฟ ซึ่งเป็นนักสรีระวิทยาชาวรัสเซีย เขาได้ทำการศึกษาทดลองกับสุนัขให้ ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงใน ห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข (Before Conditioning) ระหว่างการวางเงื่อนไข (During Conditioning) และ หลังการวางเงื่อนไข (After Conditioning) อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค คือ การตอบสนอง ที่เป็นโดยอัตโนมัติเมื่อนำ สิ่งเร้าใหม่มาควบคุมกับสิ่งเร้าเดิม เรียกว่า พฤติกรรมเรสปอนเด้นท์ (Respondent Behavior) พฤติกรรมการเรียนรู้นี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับมนุษย์และสัตว์ คำที่พาฟลอฟใช้อธิบายการทดลองของเขานั้น ประกอบด้วยคำสำคัญ ดังนี้

            - สิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus) คือ สิ่งเร้าที่ไม่ก่อให้เกิดการตอบสนอง 
            - สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus หรือ US ) คือ สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้ตาม
ธรรมชาติ 
             - สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus หรือ CS) คือ สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้หลังจากถูกวางเงื่อนไขแล้ว
หลังจากถูกวางเงื่อนไขแล้ว

                            ก.เมื่อเห็นอาหารสุนัขน้ำลายไหล
                            ข.เมื่อสั่นกระดิ่งและให้อาหาร สุนัขน้ำลายไหล
                            ง.เมื่อสั้นกระดิ่งสุนัขน้ำลายไหล

แนวคิดของวัตสัน(Watson)

              พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมทำให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าธรรมชาติ และการเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ เมื่อสามารถทำให้พฤติกรรมใดๆนั้นเกิดขึ้นได้ก็สามรถลดพฤติกรรมนั้นให้หายได้
              วัตสันได้ให้ข้อสังเกตว่าโดยธรรมชาติของเด็กเล็กๆ จะกลัวเสียงที่ดังขึ้นอย่างกะทันหัน แต่มักจะไม่กล้วสัตว์เลี้ยงประเภทหนูหรือกระต่าย ในการดำเนินการทดลองโดยปล่อยให้อัลเบิร์ตอยู่กับหนูขาว ขณะที่อัลเบิร์ตเอื้อมมือไปจะจับหนูขาวก็ใช้ฆ้อนเคาะแผ่นเหล็กให้เสียงดังขึ้น ทำให้เสียงดังกล่าวเป็นสิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข(UCS) ทำเกิดให้เกิดการตอบสนองที่ไม่ต้องการวางเงื่อนไข (UCR)คือความกลัว ต่อมาวัตสันได้แก้ความกลัวของหนูอัลเบิร์ต โดยให้แม่ของหนูน้อยอุ้มในขณะที่นักจิตวิทยามาให้อัลเบิร์ตจับตอนแรกจะร้องไห้แต่พอแม่ปลอบว่าไม่น่ากลัว พร้อมกับเอามืออัลเบิร์ตไปจับหนูขาวแล้วลูบตัวจนกระทั่งหนูน้อยหายกลัวหนูขาว



ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ (Operant Conditioning Theory)
            แนวคิดของธอร์นไดค์(Thorndike)
             ธอร์นไดค์ (Edward L Thorndike) เป็นนักจิตวิทยาและนักการศึกษาชาวอเมริกัน เป็นเจ้าของทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (S) กับการตอบสนอง (R) เขาเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ต้องสร้างสิ่งเชื่อมโยงหรือพันธ ์(Bond) ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง จึงเรียกทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีพันธะระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง (Connectionism Theory) หรือ ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง
             ในการทดลอง ธอร์นไดค์ได้นำแมวไปขังไว้ในกรงที่สร้างขึ้น แล้วนำปลาไปวางล่อไวนอกกรงให้ห่างพอประมาณ โดยให้แมวไม่สามารถยื่นเท้าไปเขี่ยได้ จากการสังเกต พบว่าแมวพยายามใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อจะออกไปจากกรง จนกระทั่งเท้าของมันไปเหยียบถูกคานไม้โดยบังเอิญ ทำให้ประตูเปิดออก หลังจากนั้นแมวก็ใช้เวลาในการเปิดกรงได้เร็วขึ้น

                     

               จากการทดลองธอร์นไดค์อธิบายว่า การตอบสนองซึ่งแมวแสดงออกมาเพื่อแก้ปัญหา เป็นการตอบสนองแบบลองผิดลองถูก การที่แมวสามารถเปิดกรงได้เร็วขึ้น ในช่วงหลังแสดงว่า แมวเกิดการเรียนรู้ด้วยการสร้างพันธะหรือตัวเชื่อมขึ้นระหว่างคานไม้กับการกดคานไม้
              กฎการเรียนรู้ จากการทดลองสรุปเป็นกฎการเรียนรู้ได้ดังนี้
1.       กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
2.       กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
3.       กฎแห่งความพอใจ(Law of Effect)

แนวคิดของสกินเนอร์(Skinner)
                  การกระทำใดๆถ้าได้รับการเสริมแรง จะมีแนวโน้มที่ทำให้เกิดการกระทำนั้นอีก ส่วนการกระทำใดที่มีการเสริมแรง จะมีแนวโน้มที่ทำให้เกิดการกระทำนั้นอีก ส่วนการกระทำใดที่ไม่มีการเสริมแรงย่อมมีแนวโน้มที่จะทำให้ความถี่ของการกระทำนั้น ค่อยๆหายไปและหายไปในที่สุด
                  สกินเนอร์ได้ทดลองนำหนูหิวเข้าไปอยู่ในกล่องทดลองซึ่งภายในจะมีคานที่หนูกดแล้วจะมีอาหารให้กินพร้อมกับเงื่อนไขที่มีดังแกรก ผลการทดลองปรากฎว่า เมื่อหนูวิ่งไปวิ่งมาแล้วบังเอิญไปกดถูกคานเข้าจะมีเสียงดังแกรกและหลังจากนั้นจะมีอาหารหล่นลงมา หนูจะรีบหยิบกินทันที จากนั้นหนูก็จะวิ่งเฝ้ามากดคานเพื่อจะคอยรับอาหาร แต่ถ้ากดคานแล้วไม่มีอาหารหล่นมาลงมาหนูจะกดแค่ 2-3 ครั้งเท่านั้น แล้วก็จะเลิกกดไปทันที
  


1 ความคิดเห็น:

  1. Trips Titanium - Titanium Soccer League - TITIAN RACING
    Trips Titanium, designed as a multi-phase soccer league microtouch trimmer featuring two teams of two. rocket league titanium white All-in-one. titanium mug Trips is created with a combination of three different titanium cookware teams of men\'s titanium wedding bands four players.

    ตอบลบ