วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behavioral Teories)

             การเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธิ์กับสิ่งแวดล้อม
            กลุ่มพฤติกรรมนิยม (ฺBehavioral หรือ S-R Associationism) ได้ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า(Stimulus) กับการตอบสนอง(Response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง และถ้าหากได้รับการเสริมแรงจะทำให้มีการแสดงพฤติกรรมนั้นถี่มากขึ้น
             นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนยมที่สำคัญ และมีผลงานมากที่สุดในด้านเทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน ได้แก่ Pavlov, Watson, Thorndike และ Skinner ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมีพื้นฐานความคิด(Assumption) ที่สำคัญ ได้แก่ 1)พฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นโดยการเรียนรู้และสังเกตได้
2) พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนที่เป็นอิสระหลายอย่าง 3)การเสริมแรง(Reinforcement) ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้
           นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมได้จำแนกพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
                      1.) พฤติกรรมเรสปอนเดนส์(Response Behavior) พฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า ซึ่งสามารถวัดและสังเกตได้
                       2.) พฤติกรรมโอเปอแรนซ์(Operant Behavior) พฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา(Emitted)โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน

     ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory)

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
ของพาฟลอฟ (Pavlov)


            ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ทำการศึกษาทดลองกับสุนัข โดยฝึกสุนัขให้ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงในห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข ระหว่างการวางเงื่อนไข และหลังการวางเงื่อนไข
             ก. เสียงกระดิ่ง (CS) ไม่มีน้ำลาย ผงเนื้อ (UCS) น้ำลายไหล (UCR)
            ข. เสียงกระดิ่ง น้ำลายไหล (UCR) และผงเนื้อ (UCS) ทำขั้นที่ 2 ซ้ำกันหลาย ๆ ครั้ง
            ค. เสียงกระดิ่ง (CS) น้ำลายไหล (CR)
              การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคคือการตอบสนองที่เป็นไปโดยอัตโนมัติเมื่อนำสิ่งเร้าใหม่มาควบคู่กับสิ่งเร้าเดิม ซึ่งนักจิตวิทยาเรียกพฤติกรรมการตอบสนองนี้ว่าพฤติกรรมเรสปอนเด้นท์



ในการวิจัยเกี่ยวกับการย่อยอาหารของสุนัข พาฟลอฟสังเกตสุนัขมีน้ำลายไหลออกมาเมื่อเห็นผู้ทดลองนำอาหารมาให้ พาฟลอฟสนใจในพฤติกรรมน้ำลายไหลของสุนัขก่อนได้รับอาหารมากจึงได้คิดทำการศึกษาเรื่องนี้อย่างมีระเบียบ การทดลองสามารถแสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยการทดลองทำให้สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง พาฟลอฟได้พบหลักฐานก

บทที่ 4 ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญา (Cognitive Theories)

   1. สรุปเนื้อเรื่อง Inside Out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง    


              ในเรื่อง inside out นี้ตัวเอกของเรื่องคือไรลีย์เด็กสาว ผู้มองโลกในแง่บวกอยู่เสมอ แถมเป็นนักกีฬาฮอกกี้ตัวเก่งของโรงเรียน และในหัวของไรลีย์นั้น ประกอบด้วยตัวเอกเล็กๆอีก 5 ตัวคือ Joy, Sadness , Anger, Disgust และ Fear ซึ่ง แต่อารมณ์ทั้ง 5 จะเป็นแต่ละอารมณ์แต่ละความรู้สึกดังนี้ Joy คือความรู้สึกที่มีความสุข สนุกสนาน ลั้นลา, Sadness คือความรู้สึกที่ซึมเศร้า เศร้าหมอง, Fear คือความรู้สึกกลัว กังวล, Anger คือความรู้สึกโกรธ, และ Disgust คือความรู้สึกขยะแขยง รังเกียจ แม้ว่าจะมีอารมณ์ถึง 5 อารมณ์ แต่คนที่คอยควบคุมความรู้สึกและการกระทำส่วนมากของ ไรลีย์ ก็คือ Joy คอยทำให้ไรลีย์เป็นเด็กที่สดใส มองโลกในแง่ดีอยู่เสมอ ในทุกการกระทำของไรลีย์ จะถูกเก็บเป็นลูกบอล ความทรงจำความทรงจำเหล่านี้เมื่อหมดวันจะถูกเก็บไปยังส่วนของ ความทรงจำระยะยาวและในบางครั้งเมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญๆ ในชีวิตลูกบอลที่เกิดขึ้นจะเรียกว่า ความทรงจำหลักและความทรงจำเหล่า นี้เอง ที่จะถูกพัฒนาให้กลายเป็นบุคคลิกภาพประจำตัวต่อไป ซึ่งในเรื่องนี้ความทรงจำเหล่านี้จะถูกนำไปสร้างเป็นเกาะ เพื่อแทนบุคคลิกภาพในแต่ละแง่มุม เช่นเกาะฮอคกี้เมื่อ ไรลีย์ ทำประตูแรกได้เมื่อตอนเป็นเด็ก ทำให้เธอชอบเล่นฮอกกี้ตั้งแต่นั้นมา หรือเกาะแห่งมิตรภาพที่แทนถึงเพื่อนรักของเธอที่สนิทกันมาตั้งแต่เด็ก ชีวิตของไรลีย์มีแต่ความสุขเป็นส่วนมาก แม้กระทั้ง Joy เองก็ไม่คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับไรลีย์ได้ จนกระทั้งไรลีย์ต้องย้ายบ้าน ทุกอย่างก็เปลี่ยนกันไปหมด พฤติกรรมบางอย่างของไรลีย์เปลี่ยนไป ทั้งนี้ก็เกิดกับการควบคุมของอารมณ์ทั้ง 5 เกิดเรื่องราวต่างๆขึ้นมากมาย ความทรงจำบางอย่างของไรลีย์ก็ถูกลืมไป เกาะก็พังลงเกือบทุกเกาะ ในขณะที่ Joy กำลังหาวิธีกลับมาควบคุมไรลีย์ จากนั้นเกาะต่างๆ พังลงความทรงจำบางอย่างหายไปซึ่งส่งผลถึงพฤติกรรมต่างๆของไรลีย์ในขณะนั้น เมื่อ Joy กลับมาถึงก็ให้ Sadness นำความทรงจำหลักกลับเข้าไปทำให้ทุกอย่างเริ่มเหมือนเดิมและเกาะต่างๆก็ถูกสร้างขึ้นใหม่อีกครั้ง เช่น เกาะครอบครัว มิตรภาพ เป็นต้น จากนั้นก็ทำให้ไรลีย์กลับมามีความสุขและมีความทรงจำดีๆเหมือนเดิม


2. สิ่งที่ได้จากการรับชม Inside Out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง
         จากที่ได้ดู Inside Out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง จนจบเรื่องสิ่งที่ได้คือหนังเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าคนเราเมื่อเติบโตขึ้นก็ต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ นานา  เราไม่อาจใช้ Joy เพียงอย่างเดียวเป็นตัวหลักในการรับมือกับทุกอย่างได้เหมือนตอนเด็กๆ เพราะถึง Joy จะเป็นสิ่งที่ดี แต่นั่นคือการพยายามหนีปัญหาในรูปแบบหนึ่ง และปัญหาหลายอย่างในวัยผู้ใหญ่ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยอย่างการกินบร็อคโคลีหรือการถูกสั่งงดขนมหวาน ซึ่งแค่มุกเครื่องบินธรรมดาก็มาเติมเต็มความต้องการให้ Joy เข้ามาควบคุมผลลัพธ์ได้  แต่มันมีปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวพันทั้งกับความโกรธ  ความกลัว ความรังเกียจ และความเศร้า การเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ปกติสมบูรณ์นั้นหมายถึงการระลึกได้ว่าตัวเองกำลังมีอารมณ์แบบไหน  และควรจัดการให้ทุกอารมณ์มีที่ทางในการแสดงออกมาโดยสอดประสานกัน ไม่ให้อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งมีอำนาจควบคุมการสั่งการโดยเบ็ดเสร็จ ทุกอารมณ์มีความสำคัญและหน้าที่ในตัวของมันเอง แม้แต่ความเศร้าซึ่งบางคนมองว่าเป็นสิ่งไร้ประโยชน์ ถึงความเศร้าจะไม่มีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนร่างกายทำเรื่องสนุกๆอย่าง Joy แต่ความเศร้าที่เป็นประโยชน์จะเป็นเบาะรองรับและสิ่งปลอบประโลมใจในวันที่ฟ้าฝนไม่เป็นใจกับเรา  การที่เราโศกเศร้าไม่ใช่เป็นเพราะเราอ่อนแอขี้แพ้  แต่มันเป็นการหยุดเครื่องชั่วคราวเพื่อให้เราได้มีเวลาคิดทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นมากกว่า น้ำตา/การนิ่งเงียบเป็นสิ่งที่เราใช้ในการระบายความเศร้าบางส่วนที่กดดันอยู่ในจิตใจออกจากร่างกายเหมือนที่อีก 4 อารมณ์ที่เหลือต่างก็มีวิธีการแสดงออกมา  และสิ่งที่เหลืออยู่จะเป็นประสบการณ์ที่ให้เราใช้เตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาในอนาคตได้สุดท้ายแล้ว ไรลีย์ก็ได้เรียนรู้ว่าทุกอารมณ์ล้วนมีความสำคัญในตัวมันเอง และการเรียนรู้ที่จะจัดการให้แต่ละอารมณ์มีที่ทางในการแสดงออกและดำเนินไปอย่างสอดประสานกันโดยที่ไม่จำเป็นต้องมองทุกอย่างผ่านสายตาของ Joy นั้น ก็คือการเติบโตนั้นเอง



3. Inside Out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวงทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

            1. ทฤษฎีของเพียเจต์ จากที่ได้ดูหนังมาสิ่งที่สอดคล้องกับทฤษฎีของเพียเจต์คือ พัฒนาการของไรลีย์ ตั้งแต่เล็กจนโต สังเกตได้จากพัฒนาการด้านเชาว์ปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และจิตใจของแต่ละวัยในแต่ละช่วงอายุที่แตกต่างกันออกไป และการจัดการอารมณ์ยังไม่มั่นคงในช่วงวัยเด็ก การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในแต่ละวัยก็แตกต่างกันไปด้วย ทำให้ได้รับรู้ถึงวิวัฒนาการด้านต่างๆทั้งนี้ยังทำให้รู้ว่าในแต่ละช่วงของการเจริญเติบโตและยิ่งโตขึ้น อารมณ์ ความรู้สึก จิตใจ ความคิด ก็ยิ่งซับซ้อน ยากต่อการเข้าใจมากขึ้น
              2. ทฤษฎีของออซูเบล ในทฤษฎีของออซูเบล คือเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย อาทิ เช่นในหนังเรื่องนี้เมื่อในตอนที่ไรลีย์ยังเด็กก็จะเล่นกับปิ้งป๋องพอเวลาผ่านไปเมื่อสิ่งนั่นไม่มีความหมาย ความทรงจำนี้ไม่มีความหมาย ก็จะถูกโยนทิ้งลงไปในถังขยะความทรงจำ และความทรงจำของไรลีย์ที่เคยมีปิ้งป๋องก็จะถูกลืมไป พอโตขึ้นไรลีย์ก็เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้นถ้าสิ่งที่ไรลีย์เรียนรู้มีความสำคัญ เชื่อมโยงกับการเรียนรู้ของไรลีย์ ไรลีย์ก็จะเก็บความทรงจำนั้นได้ดี เช่น การเป็นนักกีฬาฮอกกี้
               3. ทฤษฎีของคลอสไมเออร์ ในทฤษฎีนี้ ความทรงจำของไรลีย์จะถูกเก็บไว้ในลูกแก้วแต่ละสีิ ความทรงจำแต่ละอย่างจะถูกเก็บในลูกแก้วแต่ละสีตามอารมณ์นั้นๆ ลูกแก้วจะถูกเก็บในแต่ละวันๆ จนเรียงคดเคี้ยวเป็นเหมือนรอยหยักในสมองของคนเรา และนอกจากมีลูกแก้วเก็บความทรงจำแล้วยังมีเกาะต่างๆ อาทิเช่น เกาะครอบครัว เกาะมิตรภาพ เกาะที่ถูกสร้างขึ้นมา เมื่อ ความทรงจำบางอย่างเลื่อนหายไปกับกาลเวลาหรือมีเรื่องเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ย่ำแย่ เกิดเรื่องที่กระทบต่อจิตใจของไรลีย์ในเรื่องนั้น เกาะต่างๆ ก็จะพังลง เมื่อเวลาผ่านไปความทรงทรงบางอย่างก็อาจถูกลืมไปในที่สุด ซึ่งก็สอดคลองกับทฤษฎีนี้
                 4. ความรู้เกี่ยวกับการรู้คิดของตนเอง  ไรลีย์ มีประสบการณ์ในการเล่นกีฬา ฮอกกี้ ตั้งแต่เด็ก โดยเรียนรู้จากพ่อแม่ตั้งแต่เด็กครอบครัวของไรลีย์จะพาไรลีย์ไปเล่นอยู่บ่อยๆ และเมื่อเกิดการฝึกฝนมากขึ้นก็ทำให้ไรลีย์มีประสบการณ์ในกีฬาฮอกกี้มากเป็นพิเศษ ซึ่งถือเป็นความสามารถพิเศษของไรลีย์ จึงทำให้ไรลีย์ ชอบเล่นฮอกกี้มาเรื่อยๆ

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุปบทที่ 3 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behavioral Teories)
             การเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธิ์กับสิ่งแวดล้อม
            กลุ่มพฤติกรรมนิยม (ฺBehavioral หรือ S-R Associationism) ได้ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า(Stimulus) กับการตอบสนอง(Response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง และถ้าหากได้รับการเสริมแรงจะทำให้มีการแสดงพฤติกรรมนั้นถี่มากขึ้น
             นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมได้จำแนกพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
                    1.) พฤติกรรมเรสปอนเดนส์(Response Behavior) พฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า ซึ่งสามารถวัดและสังเกตได้
                    2.) พฤติกรรมโอเปอแรนซ์(Operant Behavior) พฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา(Emitted)โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning)
            -
แนวคิดของพาฟลอฟ(Pavlov)
                       พาฟลอฟ ซึ่งเป็นนักสรีระวิทยาชาวรัสเซีย เขาได้ทำการศึกษาทดลองกับสุนัขให้ ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงใน ห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข (Before Conditioning) ระหว่างการวางเงื่อนไข (During Conditioning) และ หลังการวางเงื่อนไข (After Conditioning) อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค คือ การตอบสนอง ที่เป็นโดยอัตโนมัติเมื่อนำ สิ่งเร้าใหม่มาควบคุมกับสิ่งเร้าเดิม เรียกว่า พฤติกรรมเรสปอนเด้นท์ (Respondent Behavior) พฤติกรรมการเรียนรู้นี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับมนุษย์และสัตว์ คำที่พาฟลอฟใช้อธิบายการทดลองของเขานั้น ประกอบด้วยคำสำคัญ ดังนี้

            - สิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus) คือ สิ่งเร้าที่ไม่ก่อให้เกิดการตอบสนอง 
            - สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus หรือ US ) คือ สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้ตาม
ธรรมชาติ 
             - สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus หรือ CS) คือ สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้หลังจากถูกวางเงื่อนไขแล้ว
หลังจากถูกวางเงื่อนไขแล้ว

                            ก.เมื่อเห็นอาหารสุนัขน้ำลายไหล
                            ข.เมื่อสั่นกระดิ่งและให้อาหาร สุนัขน้ำลายไหล
                            ง.เมื่อสั้นกระดิ่งสุนัขน้ำลายไหล

แนวคิดของวัตสัน(Watson)

              พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมทำให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าธรรมชาติ และการเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ เมื่อสามารถทำให้พฤติกรรมใดๆนั้นเกิดขึ้นได้ก็สามรถลดพฤติกรรมนั้นให้หายได้
              วัตสันได้ให้ข้อสังเกตว่าโดยธรรมชาติของเด็กเล็กๆ จะกลัวเสียงที่ดังขึ้นอย่างกะทันหัน แต่มักจะไม่กล้วสัตว์เลี้ยงประเภทหนูหรือกระต่าย ในการดำเนินการทดลองโดยปล่อยให้อัลเบิร์ตอยู่กับหนูขาว ขณะที่อัลเบิร์ตเอื้อมมือไปจะจับหนูขาวก็ใช้ฆ้อนเคาะแผ่นเหล็กให้เสียงดังขึ้น ทำให้เสียงดังกล่าวเป็นสิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข(UCS) ทำเกิดให้เกิดการตอบสนองที่ไม่ต้องการวางเงื่อนไข (UCR)คือความกลัว ต่อมาวัตสันได้แก้ความกลัวของหนูอัลเบิร์ต โดยให้แม่ของหนูน้อยอุ้มในขณะที่นักจิตวิทยามาให้อัลเบิร์ตจับตอนแรกจะร้องไห้แต่พอแม่ปลอบว่าไม่น่ากลัว พร้อมกับเอามืออัลเบิร์ตไปจับหนูขาวแล้วลูบตัวจนกระทั่งหนูน้อยหายกลัวหนูขาว



ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ (Operant Conditioning Theory)
            แนวคิดของธอร์นไดค์(Thorndike)
             ธอร์นไดค์ (Edward L Thorndike) เป็นนักจิตวิทยาและนักการศึกษาชาวอเมริกัน เป็นเจ้าของทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (S) กับการตอบสนอง (R) เขาเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ต้องสร้างสิ่งเชื่อมโยงหรือพันธ ์(Bond) ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง จึงเรียกทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีพันธะระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง (Connectionism Theory) หรือ ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง
             ในการทดลอง ธอร์นไดค์ได้นำแมวไปขังไว้ในกรงที่สร้างขึ้น แล้วนำปลาไปวางล่อไวนอกกรงให้ห่างพอประมาณ โดยให้แมวไม่สามารถยื่นเท้าไปเขี่ยได้ จากการสังเกต พบว่าแมวพยายามใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อจะออกไปจากกรง จนกระทั่งเท้าของมันไปเหยียบถูกคานไม้โดยบังเอิญ ทำให้ประตูเปิดออก หลังจากนั้นแมวก็ใช้เวลาในการเปิดกรงได้เร็วขึ้น

                     

               จากการทดลองธอร์นไดค์อธิบายว่า การตอบสนองซึ่งแมวแสดงออกมาเพื่อแก้ปัญหา เป็นการตอบสนองแบบลองผิดลองถูก การที่แมวสามารถเปิดกรงได้เร็วขึ้น ในช่วงหลังแสดงว่า แมวเกิดการเรียนรู้ด้วยการสร้างพันธะหรือตัวเชื่อมขึ้นระหว่างคานไม้กับการกดคานไม้
              กฎการเรียนรู้ จากการทดลองสรุปเป็นกฎการเรียนรู้ได้ดังนี้
1.       กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
2.       กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
3.       กฎแห่งความพอใจ(Law of Effect)

แนวคิดของสกินเนอร์(Skinner)
                  การกระทำใดๆถ้าได้รับการเสริมแรง จะมีแนวโน้มที่ทำให้เกิดการกระทำนั้นอีก ส่วนการกระทำใดที่มีการเสริมแรง จะมีแนวโน้มที่ทำให้เกิดการกระทำนั้นอีก ส่วนการกระทำใดที่ไม่มีการเสริมแรงย่อมมีแนวโน้มที่จะทำให้ความถี่ของการกระทำนั้น ค่อยๆหายไปและหายไปในที่สุด
                  สกินเนอร์ได้ทดลองนำหนูหิวเข้าไปอยู่ในกล่องทดลองซึ่งภายในจะมีคานที่หนูกดแล้วจะมีอาหารให้กินพร้อมกับเงื่อนไขที่มีดังแกรก ผลการทดลองปรากฎว่า เมื่อหนูวิ่งไปวิ่งมาแล้วบังเอิญไปกดถูกคานเข้าจะมีเสียงดังแกรกและหลังจากนั้นจะมีอาหารหล่นลงมา หนูจะรีบหยิบกินทันที จากนั้นหนูก็จะวิ่งเฝ้ามากดคานเพื่อจะคอยรับอาหาร แต่ถ้ากดคานแล้วไม่มีอาหารหล่นมาลงมาหนูจะกดแค่ 2-3 ครั้งเท่านั้น แล้วก็จะเลิกกดไปทันที